สาระน่ารู้ » EQ กับความสำเร็จในชีวิต

EQ กับความสำเร็จในชีวิต

1 ธันวาคม 2017
302   0

EQ กับความสำเร็จในชีวิต

เป้าหมายที่สำคัญของการศึกษาคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสังคมให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพตามที่สังคมปรารถนาและการศึกษาต้องสร้างให้เขา ประสบความสำเร็จทั้งด้านการเรียน (studysuccess) ความสำเร็จในการประกอบ อาชีพ (careersuccess) และความสำเร็จในชีวิต (lifesuccess) ในยุคสมัยที่ผ่านมาระบบการศึกษาจะมองว่าคนที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องเป็นคนเก่งความเก่งในสมัยก่อนเราจะมุ่งไปที่สติปัญญาโดยมีดัชนีชี้วัดระดับ สติปัญญาของ มนุษย์ว่า IQ (IntelligenceQuotient) สถาบันการศึกษาจึงมุ่งจัดหลักสูตรและการเรียนการสอบเพื่อที่จะพัฒนาสติปัญญาของเด็กอย่างมาก  เด็กต้องเรียนอย่างหนักเนื่องจากเกิดการแข่งขันอย่างสูงทางการเรียนคนเก่งเท่านั้นที่จะมีโอกาสเลือกเรียนคณะดีๆเพื่อหวังความสำเร็จความก้าวหน้าในอนาคต ทำให้กลายเป็นเด็กที่ขาดความสุขมีความเครียดสูงเห็นแก่ตัวมากขึ้นและมักจะเข้ากับใครไม่ได้เมื่อไปประกอบอาชีพมักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงไม่สามารถรับประกันได้เลยว่า คนที่มีความคิดอ่านที่ปราดเปรื่องม ีIQ สูงเรียนเก่งจนประสบความสำเร็จในด้านการเรียนสามารถผ่านการทดสอบคัดเลือก เข้าทำงานในตำแหน่งดีๆจะประสบความสำเร็จเสมอไปเพราะพบว่ากลุ่มคนพวกที่ม ีIQ สูงนี้มักมีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์และด้านมนุษยสัมพันธ์ ทำให้นักจิตวิทยาเกิดความสนใจศึกษากันมากว่ามีปัจจัยตัวใดที่ทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในชีวิตสูงกว่า IQ ซึ่งพบว่าความสำเร็จของมนุษย์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถทางสติปัญญาเพียงด้านเดียวแต่ขึ้นอยู่กับ ความสามารถทางอารมณ์ (EQ)ของเขาด้วยมีผลการศึกษาที่น่าสนใจ เช่น ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ที่ทำการศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับความสำเร็จในการทำงานโดยศึกษาจาก นักศึกษาที่เรียนในช่วงปี 1940 จำนวน 95 คนติดตามจนถึงวัยกลางคนพบว่านักศึกษาที่จบการศึกษาและได้คะแนนดีในระดับสูงๆมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ในด้านการงานและความสุขในชีวิตครอบครัวเมื่อเทียบกับนักศึกษาที่ได้คะแนน ต่ำกว่า
จากการศึกษาข้างต้นทำให้การศึกษาเรื่อง EQ แพร่หลายมากขึ้นโดยความเชื่อแนวใหม่จะเน้นว่าคนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้นต้องมีทั้ง IQ และ EQ ประกอบกัน และพบว่า IQ จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จได้แค่ 20 % และ 80 % ของความสำเร็จเป็นผลมากจาก EQ แทบทั้งสิ้น

          

ความหมายของ EQ 

คำว่า EQ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Emotional Quotient ซึ่งมีคำแปลภาษาไทยมากมาย เช่น เชาว์อารมณ์, ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์, อัจฉริยะทางอารมณ์ในที่นี้ขอใช้คำแปลว่า“ความฉลาดทางอารมณ์”หรือEmotional Intelligence หมายถึงความสามารถของบุคคลที่จะตระหนักถึงความรู้สึก ของอารมณ์ตนเองและของผู้อื่นสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้สามารถรอคอยการตอบสนองความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะ สามารถให้กำลังใจตนเองในการเผชิญปัญหาอุปสรรคข้อขัดแย้งต่างๆได้อย่างไม่คับข้องใจ รู้จักขจัดความเครียดที่จะขัดขวางคิดริเริ่มสร้างสรรค ์อันมีค่าของตน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีความสุขจนประสบความสำเร็จในการเรียนในอาชีพ ตลอดจนประสบความสำเร็จในชีวิต
คนที่มี EQ สูง จะเป็นคนที่มีความเข้าใจตนเองดี รู้เท่าทันอารมณ์ของตน รู้จุดเด่นจุดด้อยของตนมีความสามารถในการควบคุม และจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้มีความเข้าใจผู้อื่นสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราได้สามารถแสดงอารมณ์ต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการแก้ไขข้อขัดแย้งได้ดีมีความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้างได้ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มองโลกในแง่ดีสามารถจูงใจและให้กำลังใจตนเองได้มีเป้าหมายในชีวิตและมีแรงจูงใจที่จะดำเนินชีวิตไปให้ถึงเป้าหมาย ที่วางไว้ได้

 

องค์ประกอบของ EQ

โกลแมน (Golemon, 1998) ได้จำแนก EQ ออกเป็น 2 สมรรถนะใหญ่ ๆ คือ
1. สมรรถนะส่วนบุคคล
2. สมรรถนะด้านสังคม
1. สมรรถนะส่วนบุคคล เป็นความสามารถในการบริหารจัดการกับตนเองได้อย่างดีประกอบด้วย
1.1 การตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness) ประกอบด้วยการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิด ความรู้สึกนั้น ๆ และคาดคะแนผลที่จะเกิดตามมาได้สามารถจัดการกับความรู้สึกภายในตนเองได้ มีความมั่นใจตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถและความมีคุณค่าของคน ประเมินตนเองได้ตามความเป็นจริง

1.2 ความสามารถในการควบคุมตนเอง (Self-regulation) คือ การควบคุมอารมณ์ตนเองจัดการกับความโกรธ ความฉุนเฉียวต่างๆได้มีความสามารถในการปรับตัวจัดการกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นได้เปิดใจกว้างกับความ คิดและข้อมูลใหม่ ๆ อย่างมีความสุข

1.3 ความสามารถสร้างแรงจูงใจตนเองได้ (Motivation oneself)  หมายถึง มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่จะกระทำภารกิจ ต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ สามารถเผชิญปัญหาและอุปสรรคได้อย่างไม่ย่อท้อจนบรรลุเป้าหมาย มีความคิดริเริ่ม และพร้อมที่จะปฏิบัติตามที่โอกาสจะอำนวย

2. สมรรถนะทางด้านสังคม เป็นการสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น ประกอบด้วย
2.1 การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (em-pathy) หมายถึง การตระหนักรู้ถึงความรู้สึกความต้องการของผู้อื่น มีความเข้าใจผู้อื่น และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

 2.2 มีทักษะด้านมนุษยสัมพนธ์ ประกอบด้วย ความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจบุคคลได้อย่างนุ่มนวล ถูกทิศทาง มีการสื่อความหมายที่ดีชัดเจนถูกต้องน่าเชื่อถือสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้สามารถบริหารความ ขัดแย้งได้ดีหาทางยุติข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสร้างสายสัมพันธ์ในการทำงานเป็นทีมเพื่อปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมายได้

เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจน และเป็นแนวทางในการศึกษาองค์ประกอบของ EQ นักจิตวิทยาได้สรุปองค์ประกอบ ของ EQ มี 5 องค์ประกอบใหญ่ดังนี้
1. การตระหนักรู้ในตนเอง (self-awareness) เป็นความสามารถในการที่จะรับรู้และเข้าใจความรู้สึก นึกคิด และอารมณ์ของตนเองได้ตามความเป็นจริง สามารถประเมินตนเองได้ รู้จุดเด่นจุดด้อยของตน มีสติ เข้าตนเอง
 2. การบริหารจัดการกับอารมณ์ตนเอง (managing emotion) เป็นความสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเอง มีคุณธรรม มีความสามารถในการปรับตัว จัดการกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์
3. การจูงใจตนเอง (motivationone-self) มีความสามารถที่จะจูงใจตนเองนำอารมณ์ความรู้สึกของตนมาสร้างพลัง ในการกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ มีคุณประโยชน์ มองโลกในแง่ดี
 4. การรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้อื่น (empathy) หมายถึง ความสามารถที่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมีความเห็น อกเห็นใจเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีจิตใจที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่น สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
5. การดำเนินการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (handing relationships) มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น รู้เท่าทันอารมณ์ของผู้อื่น ความสามารถนี้ประกอบไปด้วย การสื่อความหมายที่ดี และ การบริหารความขัดแย้ง

 

แนวทางพัฒนา EQ

          เพื่อให้การศึกษาสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพตามที่สังคมปรารถนา คือ เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุขสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้กระบวนการจัดการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนใหม่แทนที่จะ มุ่งเน้นพัฒนา IQ เพียงด้านเดียว ความต้องมีการพัฒนา EQ ควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะทำได้โดย
1. ฝึกให้เด็กรู้จักคุณค่าของตนตามความเป็นจริง ให้มองตนเองในแง่ดี รู้สึกดีต่อชีวิต สามารถชื่นชมตัวเองได้ ฝึกสำรวจอารมณ์ตัวเอง หาสาเหตุของอารมณ์ เข้าใจตนเองและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
2. รู้จักแยกแยะอารมณ์ของตนว่าอารมณ์ใดดีอารมณ์ใดไม่ดีถ้าไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ผลที่เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบถึงตัวเองและผู้อื่นอย่างไร จะใช้การสื่อสารอย่างไรให้ผู้อื่นเข้าใจตนเอง และเกิดผลดีกับการทำงานร่วมกัน และการแสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับบุคคล สถานที่ เวลา และสถานการณ์ รู้จักระบายอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถที่จะอดทน รอคอยและแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมได้อย่างดี
3. ฝึกความสามารถในการหยั่งรู้อารมณ์ของผู้อื่นสามารถรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่นได้จนทำให้เกิดความ เห็นอกเห็นใจ เข้าใจผู้อื่น ฝึกการสังเกต และการตรวจสอบอารมณ์อยู่เสมอ
4. ฝึกการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับตนเอง ทั้งแรงจูงใฝ่สัมฤทธิ์ (achievement motive) และ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (affiliation motive)
5. ฝึกความมีมนุษยสัมพันธ์ การแสดงน้ำใจ เอื้ออาทรต่อบุคคลอื่น เห็นคุณค่าของตนและมองเห็นคุณค่าของผู้อื่น ฝึกให้เกียรติผู้อื่นด้วยความจริงใจ แสดงความชื่นชอบ ชื่นชมและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

 

กลยุทธ์สำคัญในการเสริมสร้าง EQ 

1. สร้างปฏิสัมพันธ์ และเข้าใจผู้ร่วมงานมีท่าทีที่ดีในการสื่อสาร เน้นความผูกผัน เอื้ออาทร เป็นผู้รับฟังที่ดี
2. เพิ่มพลังความคิด ด้วยการขยันหาความรู้ เพื่อสร้างความคิดใหม่ ๆ (creativity) อยู่เสมอ
3. ขจัดความโกรธ และรับมือความเครียด ควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้
4. มีสติปัญญาในการมองโลก พิจารณาสภาพสิ่งทั้งหลายด้วยใจสงบเป็นธรรมไม่อคติ
5. รู้คุณค่าและความหมายแห่งชีวิตตนเองและผู้อื่น
6. รู้จักที่จะรักและไว้วางใจผู้อื่นรู้จักที่จะอดทนต่อการเรียนรู้อดทนต่อความโกรธความเสียใจความเจ็บใจทั้งหลาย ทั้งปวง
7. มีความพอดีกับชีวิต ไม่ทำความเดือนร้อนกับผู้อื่น

 

บทสรุป

ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถส่วนหนึ่งของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกของตนเองและนำเอาพลังแห่งอารมณ์และความรู้สึกนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดี มีความสุขสามารถเผชิญกับความคับข้องใจแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างราบรื่นควบคุมตนเองได้สามารถที่จะรอคอยและ ตอบสนองความต้องการได้ มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลรอบข้าง เป็นผู้นำและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีพลังความสามารถในการบริหารจัดการ และสามารถขจัดความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บุคคลควรได้รับการพัฒนาทั้ง IQ และ EQ ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ทรัพยากรบุคคลของประเทศเป็นผู้ที่เก่ง ดี และมีความสุข ประสบความสำเร็จทั้งด้านการเรียน การทำงาน และประสบความสำเร็จในชีวิต
แหล่งที่มา :  ทรงศิริ ยุทธวิสุทธิ. 2543. EQ กับความสำเร็จในชีวิต. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 11 (1) :
38-42